การจัดการปัญหา polypharmacy ในผู้ป่วยสูงอายุ

การใช้ยารักษาโรคเพื่อช่วยยืดอายุผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีหลายรายการรวมกันทำให้เกิดปัญหา “polypharmacy” ซึ่งโดยทั่วไป หมายถึง การใช้ยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป มักก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นอันตรกิริยาระหว่างยา พิษจากยา การพลัดตกหกล้ม อาการสับสน (delirium) หรือความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (nonadherence) ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลและเพิ่มค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล เพื่อลดปัญหา polypharmacy ผู้เขียนบทความได้อธิบายวิธีการเชิงระบบที่สามารถใช้พิจารณาลดรายการยาในผู้สูงอายุได้ ได้แก่ ระบุรายการยาที่เสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ และปัญหาจากการใช้ยาในการปฏิบัติงานการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) การดูแลระยะยาว (long-term care) และงานดูแลผู้ป่วยนอกสำหรับผู้สูงอายุ (ambulatory older adults) โดยแนวปฏิบัติในการลดการใช้ยากลุ่ม opioids, benzodiazepines, และยาความเสี่ยงต่ออันตรายอื่น ๆ (high-risk medications) ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจถึงความเสี่ยง และมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ดูแล และทีมสหสาขาวิชาชีพ ควรจัดการปัญหา polypharmacy และเลี่ยงการรักษาที่มีความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว การพิจารณาหยุดยาควรเป็นไปตามสภาวะผู้ป่วยและเป้าหมายการดูแล อาทิ เปลี่ยนจากการช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ให้ความสบาย (comfort-care) และความพึงพอใจในคุณภาพชีวิต

          ผู้เขียนได้อธิบายกระบวนการระบุปัญหาจากยากรณี polypharmacy เป็นลำดับขั้นไว้ดังนี้

  1. การประสานรายการยา (medication reconciliation)
  2. การประเมินความร่วมมือในการใช้ยา (adherence assessment)
  3. ระบุอันตรกิริยาระหว่างยา (Identify drug-drug interactions)
  4. คัดกรองอันตรกิริยาระหว่างยากับโรค (drug-disease interaction screen)
  5. พิจารณาการได้รับยาเกินความจำเป็น (overtreatment)
  6. ระบุรายการยาความเสี่ยงต่ออันตรายในผู้สูงอายุโดยใช้เกณฑ์ Beer criteria และ STOPP/START
  7. ข้อบ่งใช้ที่ไม่ได้รับการรักษา (undertreated indications or missed therapy)
  8. ติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา (medication monitoring for efficacy and safety)
  9. ประเมินการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร และวิตามิน 

เครื่องมือระบุความเสี่ยงจากการใช้ยาและสามารถใช้พิจารณาหยุดยาในผู้ป่วยสูงอายุได้นั้น ได้แก่

  • Beers Criteria, American Geriatric Society, updated 6 times, recently 2019
  • STOPP/START Criteria, version 2008, version 2, 2015
  • Eliminating Medication Through Patient Ownership of End Results (EMPOWER): tapering benzodiazepines
  • Medication Overload, Lown Institute
  • Morisky Medication Adherence Scale (MMAS 4 or 8), Medication Regimen Complexity Index

อ้างอิง: Hoel RW, Connolly RMG, and Takahashi PY. Polypharmacy Management in Older Patients. Mayo Clin Proc [Internet]. 2021 [cited 27 Oct 2021];96(1):242-256. Available from: https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(20)30616-9/fulltext.

error: Content is protected !!