การให้ยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกันหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเลือดออก

เนื่องจากระยะเวลาการให้ยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกัน (Dual antiplatelet therapy, DAPT)ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเลือดออกภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous coronary intervention, PCI)ยังไม่ชัดเจน นำมาสู่งานวิจัยนี้ซึ่งสุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ biodegradable-polymer sirolimus-eluting coronary stent นานราว 1 เดือน (30-44 วัน, median = 34 วัน) ออกเป็น 2 กลุ่ม ในอัตราส่วน 1:1 ได้แก่

  • Abbreviated therapy:
    • กรณีไม่ได้รับ oral anticoagulant (OAC) ร่วมด้วย: หยุด DAPT ทันที ตามด้วย single antiplatelet therapy (SAPT) อย่างน้อย 11 เดือนหลังการสุ่ม
    • กรณีได้รับ OAC ร่วมด้วย: หยุด DAPT ทันที ตามด้วย aspirin หรือ clopidogrel 5 เดือน โดยได้รับ OAC ครบ 12 เดือน หลังทำ PCI
  • Standard therapy:
    • กรณีไม่ได้รับ OAC ร่วมด้วย: ได้รับ DAPT (aspirin และยากลุ่ม P2Y12 inhibitors) ต่อ 5 เดือน ตามด้วย 2 กรณี คือ
      • ได้รับ aspirin อย่างเดียวต่อจนครบ 12 เดือนหลังทำ PCI
      • ได้รับทั้ง aspirin และ P2Y12 inhibitors ต่อไม่เกิน 12 เดือนหลังทำ PCI
    • กรณีได้รับ OAC ร่วมด้วย: ได้รับ DAPT (aspirin และ clopidogrel) ต่อ 2 เดือน ตามด้วย 2 กรณี คือ
      • ได้รับ aspirin หรือ clopidogrel อย่างเดียวต่อจนครบ 12 เดือนหลังทำ PCI โดยได้รับ OAC ครบ 12 เดือน หลังทำ PCI
      • ได้รับทั้ง aspirin และ clopidogrel ต่อไม่เกิน 12 เดือนหลังทำ PCI โดยได้รับ OAC ครบ 12 เดือน หลังทำ PCI

ในงานวิจัย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 76 ปี ร้อยละ 69.3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 36.2 เป็นผู้ป่วยที่ได้รับ oral anticoagulant ร่วมด้วย และร้อยละ 48.3 ได้รับการทำ PCI สำหรับ acute coronary syndrome โดยผู้ป่วยมีคุณสมบัติตรงเกณฑ์ประเมิน high bleeding risk เฉลี่ยต่อผู้ป่วยเป็น 2.1±1.1 ข้อ (จากทั้งหมด 10 ข้อ)

          พบว่า primary outcome ที่ประเมินจาก cumulative incidence ในวันที่ 335 (± 14 วัน) เป็นดังนี้

  1. Net adverse clinical events (composite of death from any cause, myocardial infarction, stroke, or major bleeding) วิเคราะห์จากข้อมูลผู้ป่วย 4,434 คน (per-protocol population)
    • Abbreviated therapy: 165 คน (7.5%)
    • Standard therapy: 172 คน (7.7%)
    • Difference, -0.23 percentage points; 95% confidence interval [CI], -1.80 to 1.33; p<0.001 for noninferiority
  2. Major adverse cardiac or cerebral events (composite of death from any cause, myocardial infarction, or stroke) วิเคราะห์จากข้อมูลผู้ป่วย 4,434 คน (per-protocol population)
    • Abbreviated therapy: 133 คน (6.1%)
    • Standard therapy: 132 (5.9%)
    • Difference, 0.11 percentage points; 95% CI, -1.29 to 1.51; p=0.001 for noninferiority
  3. Major or clinically relevant nonmajor bleeding โดยนิยามตาม Bleeding Academic Research Consortium type 2, 3 or 5 bleeding วิเคราะห์จากข้อมูลผู้ป่วย 4,579 คน (intention-to-treat population)
    • Abbreviated therapy: 148 คน (6.5%)
    • Standard therapy: 211 คน (9.4%)
    • Difference, -2.82 percentage points; 95% CI, -4.40 to -1.24; p<0.001 for superiority

ผู้วิจัยสรุปว่า การให้ DAPT 1 เดือนในกลุ่ม abbreviated therapy ไม่ด้อยไปกว่าการให้ DAPT 3 เดือนหลังได้รับการทำ PCI เมื่อคำนึงถึงการเกิด net adverse clinical events และ major adverse cardiac or cerebral events อีกทั้งกลุ่มที่ได้รับ abbreviated-therapy ยังเกิด major or clinically relevant nonmajor bleeding ต่ำกว่าอีกด้วย

อ้างอิง: Valgimigli M, Frigoli E, Heg D, Tijssen P, Jüni P, Vranckx P, et al. Dual antiplatelet therapy after PCI in patients at high bleeding risk. NEJM [Internet]. 2021 [cited 2 Nov 2021]; 2021, Oct. Available from: https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2108749. Subscription required to view.

error: Content is protected !!