Top 10 Clinical Studies of 2021

เว็บไซต์ Medscape ได้มีการจัดลำดับงานวิจัยทางคลินิกที่เป็นที่สนใจของบุคลากรทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้นำมาสรุปเพื่อเป็นการอัพเดตความรู้ข่าวสารทางเภสัชกรรม สำหรับผู้ที่สนใจอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถคลิก Link ในคอมเมนต์ได้เลยนะครับ

  1. การได้รับยาปฏิชีวนะอาจสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด เพราะยังต้องคำนึงถึงบทบาทของ normal flora ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ร่วมด้วย แต่ปัจจัยที่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ คือ การบริโภคเนื้อแดง
  2. จากการพิจารณาข้อมูลที่ส่งให้องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา พบว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 หลังได้รับวัคซีน Pfizer/BioNTech 1 เข็ม เป็น 92.6% แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าภูมิคุ้มกันหลังฉีด 1 เข็มจะคงอยู่นานเท่าไร ดังนั้น จึงควรฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม โดยในการศึกษาทำการฉีดห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  3. การบริโภคแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการมีสุขภาพสมองที่แย่ลง และยังพบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิด atrial fibrillation (AF)
  4. ความเครียดทำให้ผมหงอกได้ ในทางกลับกัน เมื่อความเครียดลดลง เม็ดสีในผมสามารถฟื้นฟูทำให้ผมกลับมามีสีเข้มได้ ขณะที่การมีภาวะเครียดเป็นเวลานานร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม อาจเป็นปัจจัยต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  5. ผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มที่จะเลือกดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนน้อย หรือดื่มกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนเลยเมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  6. ผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและมีดัชนีมวลกายสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงของโรคได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า
  7. ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา อัพเดต sexually transmitted infection (STI) guideline โดยมีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
    • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซี อย่างน้อย 1 ครั้ง
    • หญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจโรคซิฟิลิสตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด แม้จะเคยตรวจมาแล้ว
    • ยาทางเลือกแรกสำหรับรักษาโรคติดเชื้อ Chlamydia คือ doxycycline
    • Primary treatment สำหรับโรคหนองใน คือ ceftriaxone 500 mg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียว สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 150 กก.
  8. องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้ยา semaglutide ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2.4 mg/สัปดาห์ ร่วมกับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับการลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วน (ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กก./ตร.ม.) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย ≥ 27 กก./ตร.ม.) ที่มีโรคร่วมจากภาวะน้ำหนักเกินอย่างน้อย 1 โรค
  9. ผู้หญิงอายุ 25-42 ปีที่รับประทาน vitamin D ขนาดสูง (450 IU/วัน) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักก่อนวัยอันควร ขณะที่ผู้ชายอายุ 40-79 ปีที่มีระดับ 25(OH)D ในเลือดน้อยกว่า 20 mcg/L มีความสัมพันธ์กับ all-cause mortality ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับ 25(OH)D ปกติ (มากกว่า 30 mcg/L)
  10. การให้ marine omega-3 fatty polyunsaturated fatty acids (PUFAs) ร่วมกับยากลุ่ม antidepressants, benzodiazepines และ/หรือ valproic acid ช่วยลดอาการโดยรวมของโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (borderline personality disorder)

แหล่งอ้างอิง:

  1. Syrek R. Top 10 Clinical Studies of 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 21]. Available from: https://reference.medscape.com/slideshow/2021-top-clinical-studies-6014643?src=#1. Subscription required to view.
  2. Workoxski KA, Bachmann LH, Chan PA, et al. Sexually transmitted infections treatment guidelines, 2021. MMWR Recomm Rep 2021;70(4):71-79.
error: Content is protected !!